RP

REGULAR PROGRAM

โครงการปกติ(แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: โครงการปกติ(แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์)

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ: Regular Program: RP

ระดับชั้นที่เปิดสอน

มัธยมศึกษาปีที่ 4-6

หลักการของหลักสูตร

1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดขั้นสูงสอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญและสมรรถนะเฉพาะเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เป็นหลักสูตรที่พัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความถนัด เน้นพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสามารถในตนเอง
3. เป็นหลักสูตรที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมตามครรลองคริสต์ศาสนา
4. เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนในด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้และประกอบอาชีพได้
5. เป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด
6. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
7. เป็นหลักสูตรที่เสริมสร้างผู้เรียนให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

1. เสริมสร้างผู้เรียนให้มีสมรรถนะการคิดขั้นสูง สามารถสื่อสาร แก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยี มีทักษะชีวิตและมีศักยภาพตามความถนัด
2. เสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมตามครรลองคริสต์ศาสนา มีความเห็นอกเห็นใจ เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเคารพกฎกติการะเบียบของสังคม
3. เสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารมุ่งสู่สากล
4. เสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในทางที่สร้างสรรค์และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
5. เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
6. เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

จำนวนวิชาที่เรียน

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

รายวิชาพื้นฐาน

จำนวน 7.5 หน่วยกิต/ภาคเรียน  

รายวิชาเพิ่มเติม
จำนวน 9.0 หน่วยกิต/ภาคเรียน

เป้าหมายหลักสูตร

นักเรียนมีความรู้ความสามรถด้านวิชาการและมีทักษะในการใช้ชีวิตตามความถนัดของตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

ที่ปรึกษาหลักสูตร

ดร.ปรเมศวร์ ชรอยนุช

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ

 

ประวัติการศึกษา
  ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  ระดับปริญญาตรี สาขาเทววิทยา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ
  ระดับปริญญาโท สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  ระดับปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน
  1) นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2554
  2) นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2555
  3) รองประธานเครือข่ายองค์กรนักศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2555
  4) ผู้ประสานงานและพิธีกรรายการโทรทัศน์ CGNTV Thai ระหว่างปี 2556-2558
  5) คณะกรรมการนิสิตบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
  6) ประธานคณะกรรมการนิสิตบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
  7) คณะกรรมการบริหารโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา (มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย) วาระปีคริสต์ศักราช 2023-2026

ประสบการณ์ทำงาน
  1) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) (มติ ครม. 3 ม.ค.61)
  2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (มติ ครม. 4 ธ.ค.61)
  3) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีโครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไป (มติ ครม. 5 มี.ค.62)
  4) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น (มติ ครม. 22 ก.ย.63)
  5) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (มติ ครม. 5 ต.ค.64)    
  6) คณะทำงานในการปรับปรุงโครงสร้างศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็น ศูนย์พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์
  7) คณะทำงานในการปรับปรุงโครงสร้างศูนย์พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็น สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
  8) คณะทำงานในการปรับปรุงแก้ไขชื่อ อำนาจหน้าที่ และโครงสร้าง “สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา” หน่วยงานการศึกษา เป็น สำนักบริหารงานการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) (Science Education and Technology Bureau (SETB)) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  9) พิธีกรการประชุมนานาชาติ Waste Management International Conference & Expo Thailand 2022 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันที่ 16 มิถุนายน 2565
  10) พิธีกรการนำคณะนักเรียนผู้แทนประเทศไทยจากการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในเวทีระดับโลก Regeneron International Science and Engineering Fair 2022 (Regeneron ISEF 2022) เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีวันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
  11) พิธีกรโครงการสัปดาห์วิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกิจกรรมทุกวันศุกร์เวลา 15.00 น. – 17.30 น.ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 13 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์
  12) ผู้ประสานงานกับศาสตราจารย์ดร. KAJITA Takaaki นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2015
  13) ผู้ประสานงานกับการเป็นผู้ประสานงานกับศาสตราจารย์ดร. Hiroshi Amano นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ปี 2014
  14) บรรรณาธิการหนังสือและเลขานุการในการจัดงาน 10 Years of Cooperation between Japan and Princess Chulabhorn Science High Schools
  15) วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคำของบประมาณผลผลิตเด็กผู้มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมหลักพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่อสำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2565
  16) วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานโครงการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2565
  17) วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย วาระ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567)
  18) วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนศึกษาต่อสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น
  19) ผู้ประสานงานความร่วมมือทางศึกษากับกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น องค์กร Japan Science and Technology Agency (JST) องค์กร Japan International Cooperation Agency (JICA) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย องค์กร Japan Foundation โรงเรียน Super Science High Schools และ National Institute of Technology (KOSEN)
  20) ผู้ประสานงานความร่วมมือทางการศึกษากับสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย
  21) ผู้ประสานงานความร่วมมือทางการศึกษากับ University of Hong Kong และ City University of Hong Kong ประเทศฮ่องกง
  22) ผู้ประสานงานการจัดประชุมวิชาการ Thailand-Japan Student ICT Fair และ Thailand-Japan Student Science Fair
  23) วิทยากรบรรยายเรื่องการจัดการศึกษาของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย การเตรียมความพร้อมในการรับทุนการศึกษาต่อในต่างประเทศ ความร่วมมือกับสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น สร้างบันดาลใจในการเรียนและการทำกิจกรรม และเทศนาด้านคุณธรรมจริยธรรม

 

ประสบการณ์การทำวิจัย
  1) เลขานุการ กองบรรณาธิการ และพิธีกรการประชุมนานาชาติ Conference Secretariat International Conference on Educational System Management Leadership (ICESML)
  2) ผู้ช่วยกองบรรณาธิการวารสารภาษาอังกฤษ Journal Educational System Management Leadership
  3) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยประจำปี 2564 และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพลิกโฉมสู่ความปกติวิถีใหม่ในการจัดการศึกษา: แนวทางและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ สนับสนุนทุนวิจัยโดยสภาการศึกษา
  4) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอกโดยอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับสนับสนุนทุนการวิจัยจากสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  5) นักวิจัยโครงการวิจัยเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร กรอบอัตรากำลังและการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)
  6) นักวิจัยโครงการวิจัยแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและมีคุณค่าสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับสนับสนุนทุนการวิจัยจากสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

 

ผลงานวิชาการ
  ปรเมศวร์ ชรอยนุช (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ปรเมศวร์ ชรอยนุช (2557). การศึกษาแนวคิดในการพัฒนามนุษย์ตามแนวคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ An Online Journal of Education Vol. 10 No. 2 (2015): เดือนเมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2558.
  ปรเมศวร์ ชรอยนุช (2566). นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ปรเมศวร์ ชรอยนุช (2567). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มีนาคม พุทธศักราช 2567. (ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว)